Apologies, we are currently unable to handle your request. Please try again.

Enter the text from the box. 60 seconds remaining. Can't read the text? Reload text

Form sent successfully.

เรามุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และขั้นตอนการทำงาน โดยใส่ใจความต้องการของลูกค้า
เรามีผลิตภัณฑ์ที่ครบถ้วน ทั้งประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันเพื่อการออม ประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยที่อยู่อาศัย ฯลฯ เพื่อตอบ
สนองทุกๆไลฟ์สไตล์
อลิอันซ์ อยุธยา เป็นประกันที่กล้าบอกเงื่อนไข ทำให้เรื่องประกันให้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา ไม่ซับซ้อน

“ประกันชีวิต เป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันชีวิต ซึ่งผู้เอาประกันภัยสัญญาว่าจะจ่ายเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัทประกันชีวิตตามจำนวนและระยะเวลาที่บริษัทประกันชีวิตกำหนด โดยบริษัทประกันชีวิตจะตอบแทนผู้เอาประกันภัยเป็นจำนวนเงินหรือที่เรียกว่าผลประโยชน์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงินค่ารักษาพยาบาล เงินคืน เงินปันผล เงินครบกำหนดสัญญา เป็นต้น ภายใต้ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขความคุ้มครองที่ระบุอยู่ในสัญญาประกันภัยหรือกรมธรรม์ นอกจากนี้หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันทำให้ผู้เอาประกันเสียชีวิต บริษัทประกันชีวิตก็จะจ่ายเงินผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต ให้กับผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุอยู่ในใบคำขอเอาประกันชีวิตหรือทายาทของผู้เอาประกันภัย (แล้วแต่กรณี)”

ประกันชีวิตเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการบริหารความเสี่ยงที่ช่วยให้ผู้เอาประกันภัยสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยบริษัทประกันชีวิตจะเป็นผู้รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันด้วยการจ่ายเงินผลประโยชน์ตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ (แล้วแต่กรณี) ตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขความคุ้มครองที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันภัยหรือกรมธรรม์  พร้อมทั้งยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้กับคนข้างหลัง (ผู้รับประโยชน์) ถ้าหากผู้ประกันภัยเสียชีวิต ซึ่งผู้รับผลประโยชน์สามารถนำเงินผลประโยชน์ที่ได้รับไปใช้ในหลายๆ กรณี อาทิเช่น เอาไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ชำระหนี้ หรือวางแผนเพื่ออนาคต

ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้แบ่งประเภทของประกันชีวิตเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ประกันชีวิตแบบทั่วไป และประกันชีวิตแบบพิเศษ ได้แก่

1. ประกันชีวิตแบบทั่วไป จำแนกออกเป็น 4 แบบ ดังนี้

1.1 ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance)

เป็นแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิตเป็นหลักในชั่วระยะเวลาจำกัด ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกระยะเวลาคุ้มครองและระยะเวลาการชำระเบี้ยได้ เช่น 5 ปี, 10 ปี หรือ 20 ปี โดยบริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตภายในระยะเวลาคุ้มครอง แต่หากครบกำหนดระยะเวลาคุ้มครองแล้วผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่ ผู้เอาประกันภัยก็จะไม่ได้รับเงินคืนแต่อย่างใด

1.2. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)

เป็นประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองชีวิตในระยะยาว โดยผู้เอาประกันจะจ่ายเบี้ยเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น จ่ายเบี้ยเพียง 20 ปีแรก แต่คุ้มครองชีวิตถึงอายุ 99 ปี หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในช่วงระยะเวลาที่คุ้มครอง ผู้รับประโยชน์ก็จะได้รับเงินผลประโยชน์ตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ แต่ถ้าผู้เอาประกันอยู่จนถึงช่วงอายุที่กำหนด บริษัทประกันชีวิตก็จะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยเช่นกัน

1.3. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment/Saving Insurance)

เป็นประกันชีวิตแบบหนึ่งซึ่งบริษัทประกันชีวิตตกลงว่าจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ หากผู้เอาประกันเสียชีวิตขณะที่กรมธรรม์ประกันชีวิตยังมีผลบังคับ หรือจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยหากยังมีชีวิตอยู่จนสัญญาครบกำหนด โดยถือเป็นแบบประกันที่มีจุดเด่นเรื่องการสร้างวินัยในการออมเงิน และการได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่กำหนดไว้ซึ่งจะมากกว่าเบี้ยประกันชีวิตที่เราจ่ายไป พร้อมทั้งได้รับความคุ้มครองชีวิต

1.4. ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity Insurance)

เป็นประกันชีวิตที่ออกแบบเพื่อตอบโจทย์คนที่จะถึงวัยเกษียณโดยเฉพาะ โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเบี้ยประกันไปจนถึงอายุที่กำหนดในสัญญา และบริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเป็นประจำให้กับผู้เอาประกันภัย นับตั้งแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปีเป็นต้นไปจนครบกำหนดสัญญา พร้อมให้ความคุ้มครองชีวิตควบคู่ไปด้วย หากผู้เอาประกันเสียชีวิต ผู้รับประโยชน์ก็จะได้รับเงินตามที่ระบุอยู่ในกรมธรรม์

2. ประกันชีวิตแบบพิเศษ แบ่งออกได้ 2 ประเภท

2.1. ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked Insurance)

เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิต และให้โอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนของผู้เอาประกันภัย โดยเบี้ยประกันที่จ่ายไปจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งนำไปใช้เป็นค่าธรรมเนียมกรมธรรม์ต่างๆ และอีกส่วนหนึ่งจะนำไปลงทุน โดยในส่วนของการลงทุน ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่บริษัทประกันชีวิตคัดเลือกมาให้แล้ว

2.2. ประกันชีวิตผู้สูงอายุ

เป็นประกันสำหรับผู้สูงวัยที่อายุตั้งแต่ 50-70 ปี หรือตามที่บริษัทประกันกำหนด ซึ่งจะให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตทั้งจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ สามารถทำได้โดยไม่ต้องตรวจหรือตอบคำถามสุขภาพ เหมาะกับผู้สูงอายุที่ต้องการส่งต่อมรดกให้ลูกหลาน หรือต้องการสร้างหลักประกันจากการทำประกันให้กับคนที่ยังอยู่

1. ประกันชีวิตแบบพื้นฐาน

1.1 ข้อดีของ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) คือ เบี้ยประกันภัยไม่แพงเมื่อเทียบกับแบบอื่นๆ และให้ความคุ้มครองชีวิตสูงมากกว่าประกันชีวิตรูปแบบอื่น

1.2. ข้อดีของ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) คือให้ความคุ้มครองชีวิตระยะยาว ครอบคลุมเกือบทั้งชีวิตของผู้เอาประกันภัย

1.3. ข้อดีของ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment/Saving Insurance) คือได้รับเงินคืนรายปีตามจำนวนเงิน ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุไว้กรมธรรม์ และเมื่อครบกำหนดสัญญาก็จะได้รับเงินก้อน แต่มีข้อเสียคือเบี้ยประกันภัยสูงกว่าแบบประกันอื่นๆ

1.4. ข้อดีของ ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuities Insurance) คือมีเก็บเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ เป็นการออมเพียงประเภทเดียวที่สามารถการันตีเงินคืนหลังเกษียณ และยังได้สิทธิทางภาษีด้วยการหักเป็นค่าลดหย่อนไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี (ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของสรรพากร)

2. ประกันชีวิตแบบพิเศษ

2.1. ข้อดีของ ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked Insurance) คือมีความยืดหยุ่นกว่าแบบประกันชีวิตทั่วไป สามารถกำหนดระยะเวลาจ่ายเบี้ย ลดเบี้ย หรือหยุดพักชำระเบี้ยได้ แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละแบบประกัน ข้อเสียคือไม่สามารถนำเงินในส่วนของเงินลงทุนไปหักลดหย่อนภาษีได้ แต่จะสามารถลดหย่อนภาษีได้เฉพาะในส่วนของเบี้ยที่เกี่ยวกับประกันชีวิตเท่านั้น และไม่เกิน 100,000 บาท (ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของสรรพากร)

2.2. ข้อดีของ ประกันชีวิตผู้สูงอายุ คือให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตทั้งจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ สามารถทำได้โดยไม่ต้องตรวจหรือตอบคำถามสุขภาพ

1. ประกันชีวิตแบบพื้นฐาน

1.1 ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) เหมาะกับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตในระยะสั้น หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง รวมถึงผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสูง แต่มีความสามารถในการชำระเบี้ยต่ำ และต้องการบริหารความเสี่ยง เพียงช่วงระยะสั้นๆ เท่านั้น เช่น ช่วงที่มีภาระหนี้สิน

1.2. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) เหมาะกับ ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัว หรือเป็นเสาหลักของบ้าน เพื่อเป็นหลักประกันให้คนข้างหลัง ต้องการมีมรดกให้กับลูกหลาน หรือเงินก้อนให้กับลูกหลาน และผู้ที่ต้องการแนบสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพที่มีระยะเวลาคุ้มครองยาวนานตลอดชีพ

1.3. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment/Saving Insurance) เหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนแต่ไม่อยากรับความเสี่ยงที่จะสูญเงินต้นไป (รับความเสี่ยงได้น้อย) ต้องการเก็บออมเงินไว้ใช้สำหรับเป้าหมายในอนาคต และต้องการความคุ้มครองชีวิตควบคู่ไปกับการออมเงิน

1.4. ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuities Insurance) เหมาะกับผู้ที่ต้องการวางแผนเกษียณ อยากมีรายรับที่แน่นอนหลังเกษียณ เพื่อชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป และมีเงินเป็นมรดกให้กับลูกหลานหากต้องจากไป

2. ประกันชีวิตแบบพิเศษ

2.1. ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked Insurance) เหมาะกับผู้ที่มีความรู้ในเรื่องการลงทุน สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ ตั้งเป้าออมเงินผ่านการทำประกัน โดยคาดหวังผลตอบแทนควบคู่กับความคุ้มครอง

2.2. ประกันชีวิตผู้สูงอายุ เหมาะกับผู้ที่ต้องการส่งต่อมรดกให้ลูกหลาน และต้องการสร้างหลักประกันจากการทำประกัน

วัยเด็ก

0-5 ปี: ร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงพอ มักจะเจ็บป่วยง่ายกว่าเด็กวัยอื่น ซึ่งเบี้ยประกันสุขภาพของเด็กวัย 0-5 ปีจะสูง และในวัยที่เริ่มวิ่งซน จนถึงวัยรุ่น จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยๆ การทำประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุจึงเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

0-20 ปี: เหมาะกับการทำประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุมากกว่าประกันชีวิต เพราะเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าวัยอื่นๆ

วัยเริ่มทำงาน

21-30 ปี: ในช่วงนี้เป็นวัยเริ่มทำงาน เป็นวัยที่เหมาะกับการวางแผนการเงินเพื่อสร้างฐานะในอนาคต ในระยะนี้เป็นช่วงที่ต้องเริ่มจ่ายภาษี เพราะฉะนั้นประกันชีวิตควรเป็นแบบประกันที่สามารถช่วยประหยัดภาษีได้

วัยสร้างครอบครัวและมีบุตร

31-50 ปี:

เหมาะกับ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ หรือประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือการซื้อประกันชีวิตแนบสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลรายวัน เพราะถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันที่ไม่สามารถทำงานหารายได้ สิ่งเหล่านี้จะมาลดภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในช่วงเวลานั้น

วัยก่อนเกษียณ

51 ปีขึ้นไป:

หากไม่เคยมีประกันสุขภาพมาก่อน อาจจะเป็นเวลาที่เริ่มมองหาประกันสุขภาพทั้งค่ารักษาพยาบาล หรือคุ้มครองโรคร้ายแรง เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บก็มากขึ้นตามไปด้วย การทำประกันชีวิตที่ความคุ้มครองไม่สูงมากนักพ่วงประกันสุขภาพ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันความเสี่ยงนั้น

เบี้ยประกันชีวิตที่ทำให้ตัวเอง สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แต่ต้องมีระยะเวลาความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และกรณีที่มีการจ่ายเงินคืนทุกปีระหว่างสัญญา เงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของค่าเบี้ยประกันรายปี ตามการแจ้งสิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่บริษัทประกันยื่นให้แก่กรมสรรพากร

ส่วนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่ทำให้ตัวเอง นำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ทั้งนี้ หากไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนสำหรับประกันชีวิตทั่วไป สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปใช้สิทธิ์ลดหย่อนรวมกับเบี้ยประกันชีวิตได้เพิ่มอีก 100,000 บาท กล่าวคือ ประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท (ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของสรรพากร)

ที่มา: กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/557.html