แจ้งเคลมประกันชีวิตและสุขภาพ

แจ้งเคลมประกันชีวิตและสุขภาพ
แจ้งเคลมประกันชีวิตผู้ป่วยนอก (OPD)

เจ็บป่วยและรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยนอก (OPD) 

สำหรับขั้นตอนการแจ้งเคลมกรณีเจ็บป่วยและรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยนอก (OPD) มี 2 วิธีคือ

1. เข้ารักษาตัวแบบไม่ต้องสำรองจ่าย (cashless) สิ่งที่ต้องเตรียมคือ

  • ตรวจสอบโรงพยาบาลในเครืออลิอันซ์ อยุธยา -> รายละเอียดคลิก
  • แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิ์โดยยื่นบัตรประจำตัวประชาชนแก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
  • เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิ์แล้วจะแจ้งผลประโยชน์ และความคุ้มครองตามกรมธรรม์ให้ทราบ รวมถึงค่าใช้จ่ายส่วนเกินสิทธิ์ที่โรงพยาบาลจะเรียกเก็บ

เงื่อนไขการให้บริการ บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ให้บริการผู้ป่วยนอกแบบไม่ต้องสำรองจ่าย เฉพาะ

- ผู้เอาประกันภัยที่ไม่เข้าข้อยกเว้นตามที่ระบุในกรมธรรม์

- กรมธรรม์ที่ชำระเบี้ยภายในระยะเวลาที่กำหนด

- กรมธรรม์ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายคงค้างกับบริษัทฯ

กรณีที่ ค่ารักษาพยาบาลเกินสิทธิ์ความคุ้มครองภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินสิทธิ์นั้น ให้กับโรงพยาบาลโดยตรง

 

2. สำรองจ่ายก่อน แล้วค่อยทำเรื่องเบิกคืน โดยสามารถเลือกวิธีการแจ้งเคลมได้ดังนี้

2.1 แจ้งเคลมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น My Allianz โดยสามารถเคลมออนไลน์ได้ 20 ครั้ง/ปี โดยยอดค่ารักษาพยาบาลในการเคลมแต่ละครั้งไม่เกินครั้งละ 5,000 บาท ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

  • เมื่อเข้า My Allianz ให้เลือกเมนู My Claim
  • เลือกหัวข้อเคลมออนไลน์
  • กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และส่งเอกสารที่บริษัทกำหนด
  • ส่งเอกสาร เช่น ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ต้นฉบับ) ใบรับรองแพทย์ ด้วยการถ่ายภาพ
  • รับเงินเคลม ผ่านบัญชีส่วนตัวของท่าน (สำหรับท่านที่ไม่ได้เลือกวิธีรับเงิน ระบบจะให้ท่านสมัครผ่าน My Allianz เพื่อรับเงินผ่านบัญชีของท่าน)
  • รอการอนุมัติ

กรณียอดค่ารักษาพยาบาลเกินกว่าที่กำหนดข้างต้น สามารดาวน์โหลดฟอร์มเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ตามแบบฟอร์มของบริษัทฯ ที่นี่ รายละเอียดและการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น My Allianz

2.2 แจ้งเคลมด้วยการกรอกแบบฟอร์ม สามารดาวน์โหลดฟอร์มของบริษัทฯ ที่นี่ สำหรับเอกสารจำเป็นที่ต้องใช้คือ

  • แบบฟอร์มเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ตามแบบฟอร์มบริษัทฯ
  • ใบรับรองแพทย์ผู้รักษาที่สถานพยาบาลนั้นออกให้ หรือรายงานแพทย์ผู้ตรวจรักษาตามแบบฟอร์มของบริษัทฯ (ด้านหลังแบบฟอร์ม) โดยให้แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ และเป็นแพทย์ผู้ตรวจกรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มพร้อมลงนาม และประทับตราสถานพยาบาล
  • ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ต้นฉบับ)
  • หนังสือยินยอมที่กรอกครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อ*
  • สำเนาสูติบัตรที่รับรองสำเนาแล้ว(กรณีเป็นผู้เยาว์)*
  • สำเนาบัตรประชาชนที่รับรองสำเนาแล้ว*
  • สำเนาการเปลี่ยนแปลง ชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)

*เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเคลมชดเชยสินไหม กรณีบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องขอเอกสารเพิ่มเติมจากโรงพยาบาล หรือคลินิก

ขั้นตอนการเคลมประกันชีวิตผู้ป่วยนอก

แจ้งเคลมประกันชีวิตผู้ป่วยใน (IPD)

เจ็บป่วยและรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) หรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ (HS, HB, AI, PA)

สำหรับขั้นตอนการแจ้งเคลมเมื่อเจ็บป่วยและรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) หรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ (HS, HB, AI, PA) มีดังนี้

1. เข้ารักษาตัวแบบไม่ต้องสำรองจ่าย (cashless) สิ่งที่ต้องเตรียมคือ

  • ตรวจสอบโรงพยาบาลในเครืออลิอันซ์ อยุธยา -> รายละเอียดคลิก
  • แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิ์โดยยื่นบัตรประจำตัวประชาชนแก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
  • เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิ์แล้วจะแจ้งผลประโยชน์ และความคุ้มครองตามกรมธรรม์ให้ทราบ รวมถึงค่าใช้จ่ายส่วนเกินสิทธิ์ที่โรงพยาบาลจะเรียกเก็บ

เงื่อนไขการให้บริการ บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ให้บริการผู้ป่วยนอกแบบไม่ต้องสำรองจ่าย เฉพาะ

- ผู้เอาประกันภัยที่ไม่เข้าข้อยกเว้นตามที่ระบุในกรมธรรม์

- กรมธรรม์ที่ชำระเบี้ยภายในระยะเวลาที่กำหนด

- กรมธรรม์ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายคงค้างกับบริษัทฯ

กรณีที่ ค่ารักษาพยาบาลเกินสิทธิ์ความคุ้มครองภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินสิทธิ์นั้น ให้กับโรงพยาบาลโดยตรง

2. สำรองจ่ายก่อน แล้วค่อยทำเรื่องเบิกคืน โดยสามารถเลือกวิธีการแจ้งเคลมได้ดังนี้

2.1 แจ้งเคลมออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่น My Allianz สามารถเคลมออนไลน์ได้ 2 ครั้ง/ปี โดยยอดค่ารักษาพยาบาลในการเคลมแต่ละครั้งไม่เกินครั้งละ 20,000 บาท มีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

  • เมื่อเข้า My Allianz ให้เลือกเมนู My Claim
  • เลือกหัวข้อเคลมออนไลน์
  • กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และส่งเอกสารที่บริษัทกำหนด
  • ส่งเอกสาร เช่น ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ต้นฉบับ) ใบรับรองแพทย์ ด้วยการถ่ายภาพ
  • รับเงินเคลม ผ่านบัญชีส่วนตัวของท่าน (สำหรับท่านที่ไม่ได้เลือกวิธีรับเงิน ระบบจะให้ท่านสมัครผ่าน My Allianz เพื่อรับเงินผ่านบัญชีของท่าน)
  • รอการอนุมัติ
  • ในกรณีที่ยอดค่ารักษาพยาบาลเกินกว่าที่กำหนดข้างต้น สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมอุบัติเหตุ ,ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน หรือโรคร้ายแรง (AI/PA/IPD/CI) ที่นี่
  • รายละเอียดและการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น My Allianz

2.2 แจ้งเคลมด้วยการกรอกแบบฟอร์ม สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมอุบัติเหตุ, ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน หรือโรคร้ายแรง (AI/PA/IPD/CI)  ที่นี่ สำหรับขั้นตอนและเอกสารที่ต้องใช้ได้แก่

  • แบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมอุบัติเหตุ หรือ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (AI/PA/IPD) ตามแบบฟอร์มบริษัทฯ โดยผู้เอาประกันภัยกรอกข้อความให้ครบถ้วนทุกรายการ พร้อมลงนาม 2 แห่ง ที่ช่องลายเซ็นผู้เอาประกันภัย (เลขที่บัตรประชาชน หมายถึง เลขที่บัตรประชาชน3ของผู้เอาประกันภัย)
  • รายงานแพทย์ ผู้ตรวจรักษาตามแบบฟอร์มบริษัทฯ(ด้านหลังแบบฟอร์ม) โดยให้แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ และเป็นแพทย์ผู้ตรวจกรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มพร้อมลงนาม และประทับตราสถานพยาบาล ในกรณีที่เรียกร้องผลประโยชน์เพิ่มเติมตามสัญญา HB Plus เนื่องจากการผ่าตัดซับซ้อน หรือผ่าตัดใหญ่ จะต้องแนบเอกสารรายงานการผ่าตัด (Operative Note)
  • ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลต้นฉบับ (กรณีเรียกร้องค่ารักษารายวันอย่างเดียวให้ใช้สำเนาใบเสร็จได้)
  • ใบแจกแจง รายการค่ารักษาทุกรายการพร้อมรายละเอียดการรับประทานยา
  • หนังสือยินยอมที่กรอกครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อ*
  • สำเนาสูติบัตรที่รับรองสำเนาแล้ว (กรณีเป็นผู้เยาว์)*
  • สำเนาบัตรประชาชนที่รับรองสำเนาแล้ว*
  • สำเนาการเปลี่ยนแปลง ชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)*
  • เอกสารทางการแพทย์อื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ฟิล์มเอ็กซเรย์ หรือ ใบอ่านฟิล์ม ใบนัดฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าที่ได้รับการฉีดครบ 5 เข็ม กรณีถูกสุนัขกัด ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

* กรุณาส่งเอกสารดังกล่าวทุกครั้งเมื่อ ท่านไม่สามารถใช้สิทธิ์อลิอันซ์ อยุธยาแคร์ได้ หรือภาวะโรค/การบาดเจ็บ รุนแรงและเรื้อรัง หรืออื่นๆ เนื่องจากบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องขอเอกสารเพิ่มเติมจากโรงพยาบาล หรือ คลินิก

ขั้นตอนการเคลมประกันชีวิตผู้ป่วยใน

ขั้นตอนการเคลมออนไลน์

ขั้นตอนเคลมออนไลน์, online claim

แจ้งเคลมประกันชีวิตโรคร้ายแรง (CI, DDB, CB )

การเรียกร้องสินไหมตามสัญญาโรคร้ายแรง (CI, DDB, CB )
  • กรอกแบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมอุบัติเหตุ, ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน หรือโรคร้ายแรง (AI/PA/IPD/CI)        ดาวน์โหลด
  • รายงานแพทย์ ผู้ตรวจรักษาตามแบบฟอร์มบริษัทฯ(ด้านหลังแบบฟอร์ม) ที่แถลงผลการวินิจฉัยโรคโดยละเอียด โดยให้แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง ที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ และเป็นแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนทุกรายการพร้อมลงนามและประทับตราโรงพยาบาล
  • เอกสารทางการ แพทย์อื่นๆ เช่น ฟิล์มเอ็กซเรย์พร้อมรายงานผลการอ่านฟิล์ม สำเนาประวัติการรักษา ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจชิ้นเนื้อ หรือผลทางพยาธิสภาพ
  • กรมธรรม์ประกันชีวิตต้นฉบับ
  • หนังสือยินยอม ที่กรอกโดยครบถ้วนพร้อมลงลายมือชื่อ
  • หลักฐานสำเนาบัตรประชาชนที่รับรองสำเนาถูกต้อง
  1. เข้าเว็บไซด์ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ หน้าดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
  2. จัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน ตามรายละเอียดของการจัดเตรียมเอกสาร ด้านบน
  3. จัดส่งเอกสารที่ครบถ้วน ถึงบริษัทฯ โดย
    - ส่งไปรษณีย์ แบบลงทะเบียน มาถึงฝ่ายสินไหม บมจ.อลิอันซ์ อยุธยาประกันชีวิต ชั้น 18 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ 898 ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
    - หรือ ส่งด้วยตนเอง โดยนำส่งเอกสารได้ที่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส ชั้น 1 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ และ เซอร์วิสเซ็นเตอร์ ของบริษัทฯ ทุกแห่ง
  4. บริษัทฯ จะแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือ ไปถึงผู้เอาประกันภัย ทางไปรษณีย์

การเรียกร้องสินไหมกรณีสูญเสียอวัยวะ

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เราไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่สิ่งที่เราสามารถทำได้คือการป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด รวมถึงศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องประกันเพิ่มเติมเอาไว้ และในวันนี้เราขอเสนอขั้นตอนการเรียกร้องสินไหมกรณีสูญเสียอวัยวะ มาให้ทุกคนได้อ่านและเข้าใจเป็นการเตรียมเอาไว้

เอกสารที่ต้องใช้กรณีการสูญเสียอวัยวะ ตามสัญญาคุ้มครองอุบัติเหตุ

1. แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทนอุบัติเหตุ/ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน

2. ใบรับรองแพทย์ผู้รักษา

3. ฟิล์มเอ็กซเรย์ พร้อมรายงานผลการอ่าน (ถ้ามี)

4. รูปถ่ายปัจจุบันที่บ่งชี้การสูญเสียวัยวะของผู้เอาประกันภัย

5. สำเนาประวัติการรักษาพยาบาลทั้งหมด

คลิกอ่าน แจ้งเคลมประกันชีวิตผู้ป่วยนอก (OPD), แจ้งเคลมประกันชีวิตผู้ป่วยใน (IPD) สำหรับลูกค้าอลิอันซ์ อยุธยาสามารถ ดาวน์โหลดฟอร์มอื่นๆ ได้ที่นี่ หรือผ่าน Application My Allianz

การเรียกร้องขอยกเว้นการชำระเบี้ยประกัน

เนื่องจากการยกเว้นการชำระเบี้ยประกันกรณีผู้เอาประกันภัย หรือผู้ชำระเบี้ยทุพพลภาพตกเป็นบุคคลทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ต้องมีระยะเวลาประเมินเกินกว้า 180 วัน นับจากวันเจ็บป่วย หรือ เกิดเหตุ จึงมีความจำเป็นต้องใช้ใบแสดงความเห็นแพทย์ ที่ให้แพทย์ประเมินอาการ และ ประวัติการรักษา รวมถึง ฟิล์มเอ็กซเรย์เพื่อประกอบการพิจารณาสินไหม

เอกสารประกอบการเรียกร้องกรณีขอยกเว้นเบี้ยประกันภัย (WP/PB) เนื่องจาก ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ชำระเบี้ยทุพพลภาพ

  1. แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทนทุพพลภาพ
  2. ใบแสดงความเห็นแพทย์ (ด้านหลังแบบฟอร์มทุพพลภาพ)
  3. ฟิล์มเอ็กซเรย์ พร้อมรายงานผลการอ่าน (ถ้ามี)
  4. รูปถ่ายปัจจุบันที่บ่งชี้การทุพพลภาพของผู้เอาประกันภัย
  5. สำเนาประวัติการรักษาพยาบาลทั้งหมด
  6. กรมธรรม์ประกันชีวิตต้นฉบับ (กรณีสูญหาย ใช้ใบแจ้งความเอกสารสูญหาย)

แจ้งเคลมประกันชีวิตกรณีเสียชีวิต

เมื่อเกิดเหตุเสียชีวิต ไม่ว่ากรณีไหนๆ ก็มักทำให้คนรอบข้างของผู้ตายวุ่นวายใจ ทั้งทางอารมณ์ที่ต้องเสียคนใกล้ชิด ทั้งความวุ่นวายเรื่องการติดต่อแจ้งเรื่องต่างๆ ที่เราไม่คุ้นชินอีก วันนี้เราอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้คุณเบาใจได้เมื่อวันที่คนสำคัญของคุณจากไป

กรุณาติดต่อ ศูนย์ดูแลลูกค้า โทร.1373 เพื่อแจ้งให้บริษัททราบทันที และยื่นเอกสารมรณกรรมให้บริษัทฯ ภายใน 14 วันนับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต

ก่อนที่จะสามารถดำเนินเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแบ่งมรดก ยื่นสิทธิ์เป็นผู้จัดการมรดก หรือแม้แต่เรียกสินไหมมรณกรรมจากบริษัทประกัน สิ่งแรกที่คนข้างหลังต้องมีคือ มรณบัตร ซึ่งการดำเนินการแบ่งออกเป็นกรณีดังต่อไปนี้
โรงพยาบาลจะออก “หนังสือรับรองการตาย” (ใบท.ร.4/1)  ให้ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงเหตุการณ์ตาย จากนั้นญาติค่อยนำ “หนังสือรับรองการตาย” พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิตไปยังสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือที่ทำการเขต (อำเภอ) ในเขตที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอรับใบมรณบัตร แต่บางโรงพยาบาลจะอำนวยความสะดวกโดย จะประสานกับสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือที่ทำการเขต (อำเภอ) เพื่อติดต่อขอให้ออกใบมรณบัตรแทนญาติ  ซึ่งญาติของผู้เสียชีวิตจะต้องนำทะเบียนบ้านไปให้โรงพยาบาลด้วย

เอกสารที่ต้องใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิต
  • ใบรับรองแพทย์
  • ทะเบียนบ้าน (ในกรณีให้บางโรงพยาบาลที่สามารถออกใบมรณบัตรให้ หรือดำเนินการให้)
เจ้าของบ้านหรือผู้แทนเจ้าของบ้าน จะต้องไปแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออกใบรับรองการตาย และนำไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น (แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน หรือ กำนัน) ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเขตบ้าน ภายใน 24 ชั่วโมง (นับตั่งแต่เวลาตายหรือพบศพ) เพื่อไปติดต่อขอใบมรณบัตร

เอกสารที่ต้องใช้

  • ใบรับรองการตาย หรือ ท.ร. 4/1 (จากเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเขตบ้าน)
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ในกรณีมอบหมาย)
  • บัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)
เป็นกรณีที่ผู้ตาย เสียชีวิตนอกเขตบ้าน เช่น ที่สวน ที่ศาลา โดยธรรมชาติ (จากการเจ็บป่วย) ผู้แจ้งตายซึ่งเป็นผู้พบศพ จะต้องรีบแจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมงหลังพบศพ แต่ถ้าหากพื้นที่ใดเดินทางได้ยากลำบาก ทางการจะยืดหยุ่นระยะเวลาการแจ้งตายเอาไว้ว่าสามารถแจ้งตายได้ภายใน 7 วัน หากแจ้งเกินกว่านี้จะถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนวิธีการแจ้งตายและหลักฐานการแจ้งตายจะใช้แบบเดียวกันกับกรณีตายในบ้าน
เจ้าของบ้านหรือผู้พบศพ จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาชันสูตรศพ เพื่อทำหลักฐานการเสียชีวิต ภายในเวลา 24 ชั่วโมง (นับแต่เวลาตายหรือพบศพ) โดยในระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแพทย์ยังไม่ได้ตรวจศพ ห้ามเคลื่อนย้ายศพ หรือทำให้ศพเปลี่ยนสภาพ หรือนำยามาฉีดศพ เมื่อเสร็จขั้นตอนตรวจชันสูตร ญาติผู้เสียชีวิตจะต้องไปขอหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งขอใบชันสูตรศพจากแพทย์ เพื่อนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบีบนท้องถิ่นในการขอใบมรณบัตร โดยแจ้งด้วยว่าจะนำศพไปบำเพ็ญกุศล ตามความเชื่อทางศาสนา ให้กรอกในช่องที่ว่า เผา ฝัง เก็บ หรืออุทิศ

เอกสารที่ต้องใช้

  • หลักฐานการชันสูตรพลิกศพ
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ในกรณีมอบหมาย)
  • บัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)

หลังจากได้ใบมรณบัตรแล้ว โดยทั่วไปครอบครัวและญาติของผู้ตายจะนำศพไปทำพิธีตามศาสนาและความเชื่อ โดยต้นทางสำหรับคนที่รับศพจากโรงพยาบาล หรือห้องชันสูตร มีขั้นตอนคือ

1. กรอกข้อความในใบคำร้องขอรับศพ พร้อมแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง ประกอบใบคำร้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเวรฯ ห้องประชาสัมพันธ์ (ผู้ยื่น ต้องเป็น บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร หรือผู้ได้รับมอบหมายจากพนักงานสอบสวนท้องที่ที่เกิดเหตุ)

2. ระบุความประสงค์ในการฉีดยารักษาสภาพศพ ในใบคำร้องขอรับศพ

3. จัดเตรียมเสื้อผ้าสำหรับผู้เสียชีวิต หีบศพ พร้อมยานพาหนะสำหรับเคลื่อนย้ายศพไปประกอบพิธีทางศาสนา

4. ชำระเงินค่าบำรุง ค่าฉีดยารักษาสภาพศพกับเจ้าหน้าที่ห้องประชาสัมพันธ์รับใบเสร็จรับเงิน ตรวจสอบยอดเงินให้ถูกต้อง

5. รับศพ ตรวจสอบ ตำหนิรูปพรรณสัณฐานศพที่จะรับให้ถูกต้องว่าเป็นญาติของท่านเพื่อนำไปประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป

เอกสารที่ต้องใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านผู้มาติดต่อขอรับศพ
  • บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิต
  • หนังสือขอรับศพจากพนักงานสอบสวน หรือหนังสือยืนยันชื่อศพ (กรณีศพไม่ทราบชื่อหรือชื่อไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน)
  • หนังสือรับรองจากจุฬาราชมนตรี หรือ อิหม่าม กรณีผู้เสียชีวิตเป็นชาวไทยมุสลิม
  • ใบมรณะบัตร

Tips เพิ่มเติม:

การเคลื่อนย้ายศพเพื่อไปพิธีทางศาสนา สามารถทำได้โดยการติดต่อบริการจากทางศาสนสถาน หรือบริการเคลื่อนย้ายศพจากร้านขายโลงศพบางร้าน

กรณีเสียชีวิตตามธรรมชาติ

1. แบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมมรณกรรม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม (ลงนามในส่วนผู้รับประโยชน์และท่อนท้ายในส่วนใบมอบฉันทะให้ครบถ้วน

2. ใบรับรองแพทย์ผู้รักษาสำหรับสินไหมมรณกรรม

3. สำเนาใบมรณบัตร  (รับรองสำเนาถูกต้อง)

4. สำเนาบัตรประชาชนผู้เสียชีวิต  (รับรองสำเนาถูกต้อง)

5. สำเนาทะเบยนบ้านผู้เสียชีวิตที่จำหน่าย "ตาย"  (รับรองสำเนาถูกต้อง)

6. สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับผลประโยชน์ทุกคน (รับรองสำเนาถูกต้อง)

7. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์ทุกคน (รับรองสำเนาถูกต้อง)

8.กรมธรรม์ประกันชีวิตต้นฉบับ (กรณีสูญหาย ใช้ใบแจ้งความเอกสารสูญหาย)

9. รูปถ่ายปัจจุบันของผู้รับประโยชน์ทุกท่าน ที่รับเงินสินไหมท่านละ 100,000 บาทถ้วนขึ้นไป เพื่อยืนยันบุคคลตามประกาศสำนักงานป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน ในกรณีที่ไม่มีตัวแทนบริการ หรือ การชื้อประกันผ่านช่องทางโทรศัพท์

10. สำเนาหน้าบัญชีธนาคารของผู้รับประโยชน์ทุกท่าน เพื่อโอนเงินมูลค่าหน่วยลงทุน เฉพาะกรมธรรม์แบบ ยูนิตลิงค์

กรณีเสียชีวิตโดยผิดธรรมชาติ (อุบัติเหตุ หรือถูกฆาตกรรม หรือมีผลทางคดี)
ใช้เอกสารเหมือนกับข้อ 1-11 ของกรณีเสียชีวิตตามธรรมชาติ เพิ่มเติมดังนี้
11. สำเนาบันทึกประจำวัน วันที่เกิดเหตุ รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ข้อไป และ ข้อกลับ)

อธิบายเพิ่มเติม 

- ข้อไป หมายถึง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งว่ามีเหตุ และ ออกไปที่เกิดเหตุ แล้วลงบันทึกประจำวัน

- ข้อกลับ หมายถึง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจที่เกิดเหตุแล้วพบอะไรบ้าง มีใครอยู่ในสถานที่เกิดเหตุบ้าง บาดเจ็บ หรือ เสียชีวิต และ นำส่งต่อที่ใด โดยกลับมาลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน

12. สำเนาใบชันสูตรพลิกศพที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ด้านหน้า และ ด้านหลัง)

13. รายงานการตรวจศพ รับรองโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือแพทย์ผู้ผ่าศพ (กรณีมีการผ่าพิสูจน์ศพ)

14. กรณีผู้ชำระเบี้ยเสียชีวิตหรือผู้รับประโยชน์เป็นผู้เยาว์ ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครองโดยชอบธรรมตามกฎหมาย (กรณีไม่ใช่บิดา-มารดา กรุณาแนบสำเนาคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้ปกครอง)

15. คำร้องขอเปลี่ยนแปลงผู้ปกครอง (กรณีผู้ชำระเบี้ยเสียชีวิต)

ท่านสามารถดาวน์โหลด เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ คลิกที่นี่

บริการประกันชีวิตไม่ต้องสำรองจ่าย

คือบริการทางด้านการการรักษาพยาบาลที่อลิอันซ์ อยุธยา พัฒนาขึ้น เพื่อให้การบริการแก่ผู้เอาประกันภัย ณ โรงพยาบาลชั้นนำในเครือข่ายอลิอันซ์อยุธยาแคร์ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล
คือ การขอใช้สิทธิ์ในการเข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยในโดยไม่ต้องสำรองเงินจ่าย ณ โรงพยาบาลในเครือข่ายอลิอันซ์อยุธยาแคร์ 
แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิ์โดยยื่นบัตรประจำตัวประชาชนกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เมื่อแพทย์ผู้ตรวจลงความเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องรับตัวไว้เป็นผู้ป่วยใน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะติดต่อกับบริษัทฯ เพื่อแจ้งยืนยันการให้บริการเบื้องต้น เมื่อบริษัทฯ อนุมัติการใช้บริการแล้ว เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงค่าใช้จ่ายที่อยู่ภาย ใต้เงื่อนไขและผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ รวมถึงค่าใช้จ่ายส่วนเกินสิทธิ์ที่โรงพยาบาลจะเรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัย โดยตรง
คือ การขอใช้สิทธิ์ในการเข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยนอกโดยไม่ต้องสำรองเงินจ่าย ณ โรงพยาบาลในเครือข่ายอลิอันซ์อยุธยาแคร์ 
แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิ์โดยยื่นบัตรประจำตัวประชาชนแก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิ์ของผู้เอาประกันภัย แล้วจะแจ้งผลประโยชน์ และความคุ้มครองตามกรมธรรม์ให้ผู้เอาประกันภัยทราบ รวมถึงค่าใช้จ่ายส่วนเกินสิทธิ์ที่โรงพยาบาลจะเรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัย โดยตรง

บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ให้บริการผู้ป่วยนอกแบบไม่ต้องสำรองจ่าย เฉพาะ

  • ผู้เอาประกันภัยที่ไม่มีข้อยกเว้นเฉพาะที่ระบุในกรมธรรม์
  • กรมธรรม์ที่ชำระเบี้ยภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • กรมธรรม์ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายคงค้างกับบริษัทฯ
  • กรณีที่ ค่ารักษาพยาบาลเกินสิทธิ์ความคุ้มครองภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินสิทธิ์นั้นให้กับโรง พยาบาล
  •  
  • กรณี ที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถใช้บริการได้ ผู้เอาประกันภัยสามารถส่งเอกสารเรียกร้องสินไหมมายังฝ่ายสินไหมได้ตามปกติ โดยดำเนินการตามประเภทของการเรียกร้อง ตาม link ด้านล่าง

- บริษัทฯ จะแจ้งผลการพิจารณาภายใน 15 วันนับแต่วันที่บริษัทฯ ได้รับเอกสารครบถ้วน

- ในกรณีที่การเรียกร้องสินไหมครั้งนั้นๆ หากบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องรวบรวมเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา บริษัทฯ จะแจ้ง

  ผลการพิจารณาภายใน 90 วันนับแต่วันที่บริษัทฯ ได้รับเอกสารครบถ้วน

- กรณีที่มีความประสงค์จะให้บริษัทฯ ทบทวนผลการพิจารณาชดใช้ค่าสินไหม บริษัทฯ จะดำเนินการทบทวนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับ

  เรื่องขอให้ทบทวนเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมตามที่บริษัทฯ เรียกร้องครบถ้วน

กรณี ที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถใช้บริการได้ ผู้เอาประกันภัยสามารถส่งเอกสารเรียกร้องสินไหมมายังฝ่ายสินไหมที่

1. กรณีส่งเอกสารทางไปรษณีย์

ฝ่ายสินไหม บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ชั้น 18

อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ 898 ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

2. กรณีส่งด้วยตัวเองที่

เคาน์เตอร์เซอร์วิส ชั้น 1 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ และเซอร์วิสเซ็นเตอร์ทั้ง 10 แห่ง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่ 1292 หรืออีเมล csc@allianz.co.th
โทร 1373 หรือ email: customercare@allianz.co.th