Nursing Care บริการดูแลคุณยามพักฟื้น
เหตุใดจึงให้บริการพิเศษดังกล่าว เฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ถือประกันสุขภาพในบางแบบประกันของช่องทาง Agency, BANCA, DM เท่านั้น
เนื่องจากบริการพิเศษนี้ เป็น “Marketing Campaign” เพื่อมอบให้กับผู้เอาประกันภัยในผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพในบางแบบประกันของช่องทาง Agency, Banca, DM ค่ะ/ครับ
บริการเสริมพิเศษนี้ให้กับกรณีที่ผู้เอาประกันภัยออกจากโรงพยาบาลหลังเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลทุกครั้งหรือไม่
ไม่ใช่ค่ะ/ครับ
บริการนี้เป็นบริการเสริมพิเศษ เฉพาะลูกค้าที่มีแบบประกันตามที่กำหนดกับอลิอันซ์ อยุธยา และเข้าพักรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน ตั้งแต่ 2 คืนขึ้นไป หรือ ในกรณีเข้ารับการผ่าตัด หรือเข้าพักรักษาตัวในห้อง I.C.U., หรือเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาใน รพ. ด้วยโรคหัวใจ, โรคเส้นเลือดสมองแตกหรืออุดตัน, โรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง, โรคเกี่ยวกับกระดูก, โรคเกี่ยวกับกระดูกแตกหัก, โรคมะเร็ง โดยไม่ต้องรอการอนุมัติสินไหมทดแทนจากอลิอันซ์ อยุธยา ค่ะ/ครับ
ผู้เอาประกันภัยจะทราบได้อย่างไรว่ามีสิทธิ์ได้รับบริการนี้
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับ SMS เพื่อแจ้งสิทธิ์ ค่ะ/ครับ โดยเมื่อถือประกันสุขภาพในบางแบบประกัน (ตามรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่เข้าเงื่อนไขการได้รับบริการดูแลคุณยามพักฟื้น) และเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 2 คืนขึ้นไป ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้รับครั้งแรกหลังจากที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 2 คืนขึ้นไป และจะได้รับ SMS อีกครั้ง ในวันรุ่งขึ้นหลังออกจากโรงพยาบาล โดยไม่ต้องรอการอนุมัติสินไหมหรือได้รับการติดต่อจากบริษัท เอ ดับเบิลยู พี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อแจ้งสิทธิในการใช้บริการหลังผู้เอาประกันภัยออกจากโรงพยาบาล ค่ะ/ครับ
หากผู้เอาประกันภัยเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หรือ Day case จะได้รับสิทธิในการใช้บริการนี้หรือไม่
ไม่ได้ค่ะ/ครับ เพราะการผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หรือ Day Case ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ใช้วิทยาการสมัยใหม่ ทำให้ฟื้นตัวได้โดยเร็ว จนไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือได้รับการดูแลเพิ่มเติมเป็นพิเศษหลังการผ่าตัด ดังนั้นบริการการดูแลคุณยามพักฟื้นนี้จึงไม่ครอบคลุมถึงการผ่าตัดในลักษณะนี้
บริการดูแลคุณยามพักฟื้น มี 4 บริการ แต่ละบริการใช้ได้ 7 ครั้ง ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในแต่ละครั้ง แปลว่า ได้รวมทุกประการเป็น 28 ครั้งต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้งใช่หรือไม่
ไม่ใช่ค่ะ/ครับ อาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ขออนุญาติอธิบายนะคะ/ครับ จำนวนครั้งสูงสุดที่ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้บริการรวมทุกบริการ ไม่เกิน 14 วัน ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในแต่ละครั้งโดยแต่ละบริการใช้ได้ 1 ครั้งต่อวัน
การบริการดูแลสุขภาพต่อเนื่องหลังจากออกโรงพยาบาล มีรายละเอียดดังนี้
หากผู้เอาประกันภัยเข้าเงื่อนไขที่จะสามารถใช้บริการดูแลคุณยามพักฟื้น ผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องขอใช้สิทธิเต็มตามจำนวนครั้งที่ให้บริการดูแลคุณยามพักฟื้น
ขึ้นอยู่กับอาการและความจำเป็นของผู้เอาประกันภัยค่ะ ซึ่งทางบริษัท เอ ดับเบิลยู พี (ประเทศไทย) จำกัด จะเป็นผู้พิจารณาเลือกแผนให้กับผู้เอาประกันภัย เช่น อาจเป็นแผนที่จัดส่งพยาบาลที่ได้รับอนุญาตหรือเป็นแผนที่จัดส่งผู้ช่วยพยาบาลไปดูแล รวมไปถึงจำนวนครั้งที่เจ้าหน้าที่แต่ละคนบริการดูแลผู้เอาประกันภัยค่ะ/ครับ ทาง อลิอันซ์ อยุธยาไม่ได้เป็นผู้พิจารณาในกรณีดังกล่าวค่ะ/ครับ
หากใช้สิทธิ์เต็มแล้ว ลูกค้าจะขอใช้บริการต่อโดยชำระค่าบริการเองได้หรือไม่
ได้ค่ะ/ครับ โดยผู้เอาประกันภัยสามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่ ศูนย์ดูแลลูกค้าเอ ดับเบิลยู พี โทร 02-342-3278 โดยผู้เอาประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าบริการส่วนที่เพิ่มเติมเอง โดยเป็นไปตามที่ตกลงกับ เอ ดับเบิลยู พี
ผู้เอาประกันภัยสามารถขอให้ผู้ให้บริการในแต่ละบริการ เข้าดูแลผู้เอาประกันภัยเวลาใดก็ได้ในแต่ละวันใช่หรือไม่
การเข้าบริการของเจ้าหน้าที่แต่ละคน จะอยู่ระหว่างเวลา 7.00 น. ถึง 19.00 น. เท่านั้นค่ะ/ครับ
หากผู้เอาประกันภัยไม่ได้พักอยู่ที่บ้านของตัวเองได้หรือไม่
ได้ค่ะ/ครับ ไม่ว่าผู้เอาประกันภัยจะอาศัยอยู่ ณ ที่พักซึ่งไม่ใช่บ้านของตนเองแต่เป็นที่อยู่ประจำ หรืออาศัยอยู่กับเครือญาติของผู้เอาประกันภัย แต่ต้องเป็นที่อยู่ในประเทศไทย
Marketing campaign นี้ จะสิ้นสุดเมื่อไร
ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดหยุดให้บริการนี้ หากในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลง บริษัทจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ/ครับ
หากผู้เอาประกันภัยต้องการขอเปลี่ยนเป็นการชดเชยด้วยตัวเงิน ได้หรือไม่
ไม่ได้ค่ะ/ครับ เนื่องจากบริการการดูแลคุณยามพักฟื้นนี้เป็นการให้บริการเพิ่มพิเศษ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ/ครับ ดังนั้น จึงไม่สามารถขอเปลี่ยนเป็นตัวเงินได้ และไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ที่ได้รับตามกรมธรรม์ด้วยค่ะ/ครับ
บริการดูแลคุณยามพักฟื้น เป็นบริการสำหรับลูกค้า โดยไม่ต้องเสียค่าบริการ หากเข้าเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด ใช่หรือไม่
ใช่ค่ะ/ครับ แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายบางตัวที่ทางผู้เอาประกันภัยต้องเสียค่าใช้จ่ายเองค่ะ/ครับ ได้แก่
ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องวัดสัญญาณชีพ (ชีพจร ความดันเลือด อุณหภูมิ) เครื่องช่วยค้ำยัน รถเข็นผู้เอาประกันภัย อุปกรณ์ออกซิเจน เป็นต้น และรวมถึงเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ต่างๆ เช่น สำลี ผ้าพันแผล เข็มฉีดยา เป็นต้น
ค่าเดินทางเพื่อพาไปพบแพทย์ตามกำหนดนัดหมาย
ค่าใช้จ่ายอื่นใด นอกเหนือจากผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ในตารางผลประโยชน์การดูแลคุณยามพักฟื้น
เงื่อนไขในการพิจารณาบุคลากร รวมถึงขอบเขตการให้บริการของบุคลากรที่ให้บริการต่างๆ เป็นอย่างไร
บริการดูแลโดยผู้ช่วยพยาบาล
บริการดูแลโดยพยาบาล
บริการกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด
บริการดูแลสุขภาพทั่วไป
การให้บริการดูแลคุณยามพักฟื้น นอกเหนือจากทำที่บ้านผู้เอาประกันภัยแล้ว สามารถจะมีให้บริการที่อื่น เช่น กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด ณ โรงพยาบาลหรือคลินิก ได้หรือไม่
ไม่ได้ค่ะ/ครับ เพราะการบริการนี้ เป็นการให้บริการที่อยู่นอกเหนือจากโรงพยาบาลหรือคลินิกค่ะ/ครับ และให้เฉพาะผู้ที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
กรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้ใช้สิทธิ อยุธยาแคร์ แต่มีการสำรองจ่ายไปก่อน ก็สามารถใช้บริการนี้ใช่หรือไม่คะ/ครับ
ใช้ได้ค่ะ/ครับ
อย่างไรก็ตาม ผู้เอาประกันภัยจะต้องตอบรับการใช้บริการภายใน 30 วัน นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาล และใช้บริการภายใน 7 วัน นับจากวันที่ผู้เอาประกันภัยตอบรับแผนการดูแลคุณยามพักฟื้นกับบริษัท เอ ดับเบิลยู พี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท เอ ดับเบิลยู พี (ประเทศไทย) จำกัด คือบริษัทอะไร
บริษัท เอ ดับเบิลยู พี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด (AWP): เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท อลิอันซ์ โกลบอล แอสซิสแทนซ์ (กลุ่ม AGA) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2517 ซึ่งแรกเริ่มกลุ่ม AGA ได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการเดินทางแก่นักเดินทาง หรือนักท่องเที่ยวทั่วโลก อย่างไรก็ตามกลุ่ม AGA ได้มีการขยายประเภทของการบริการให้ครอบคลุมมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการให้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ และการให้บริการดูแลคุณยามพักฟื้น หลังออกจากโรงพยาบาล
ดังนั้น AWP นับเป็นผู้นำในด้านการให้บริการด้านผู้ช่วยเหลือ (assistance) มายาวนาน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก AWP นำเสนอการบริการตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับการบริการ เช่น บริการด้านการดูแลสุขภาพ บริการด้านการประกันการท่องเที่ยว หรือ การบริการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เป็นต้น
หากลูกค้าได้ติดต่อใช้บริการดูแลคุณยามพักฟื้น แล้ว หากมีปัญหาขัดข้องใดๆ ต้องติดต่อแจ้งเรื่องที่ไหน
ผู้เอาประกันภัยสามารถติดต่อโดยตรงไปยังศูนย์ดูแลลูกค้า ของ เอ ดับเบิลยู พี ที่เบอร์ 02-342-3278
จำนวนครั้งสูงสุดที่ผู้เอาประกันภัยใช้บริการรวมทุกบริการ ไม่เกิน 14 วัน ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในแต่ละครั้ง” ขอทราบว่า “การเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในแต่ละครั้ง” คือ อะไรคะ/ครับ
“การเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในแต่ละครั้ง” นั้น ปรากฎอยู่ในตารางแสดงรายละเอียด “การบริการดูแลคุณยามพักฟื้น หลังจากออกโรงพยาบาล” ตามเอกสารที่ผู้เอาประกันภัยได้รับ เป็นการแสดงถึงจำนวนครั้งสูงสุดที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับบริการจากเจ้าหน้าที่ หลังออกจากโรงพยาบาลในแต่ละครั้ง หากการออกจากโรงพยาบาลครั้งนั้นเข้าเงื่อนไขการได้รับสิทธิการดูแลคุณยามพักฟื้น ค่ะ/ ครับ
บริการ Healthy Living Talk
บริการ Healthy Living กับ Healthy Living Talk เป็นบริการเดียวกันหรือไม่
บริการ Healthy Living Talk เป็นหนึ่งในบริการพิเศษประเภท Telemedicine จาก Healthy Living โดยให้บริการอยู่บนแอปพลิเคชันชื่อ Healthy Living Talk โดยล็อคอินเข้าใช้บริการด้วยบัญชี Healthy living ซึ่งสมาชิก Healthy living สามารถใช้บริการได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ด้วยความร่วมมือกับบริษัทชีวี บริรักษ์ จำกัด ผู้นำด้าน Telemedicine เพื่อรับคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญแบบนัดหมายล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน Healthy Living Talk ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ Healthy Living Talk
บริการ Healthy Forum ต่างจากบริการ Heatlhy Living Talk อย่างไร
บริการ Healthy Forum เป็นบริการบนแอปพลิเคชัน Healthy living ในรูปแบบเว็บบอร์ด สามารถตั้งกระทู้ถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และได้รับคำตอบภายใน 24 ชั่วโมง หรือรีวิวประสบการณ์ของตัวเองได้ ส่วน Healthy Living Talk เป็นแอปพลิเคชันเพื่อให้บริการด้าน Telemedicine ที่ให้คุณสามารถแชท โทร วีดีโอคอลกับแพทย์แบบนัดหมายล่วงหน้าผ่านแอปโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
รวมบริการพบแพทย์ออนไลน์ (TELEMED)
บริการ Samitivej Virtual Hospital เป็นการให้บริการบนแพลตฟอร์มประเภทใด
บริการนี้สามารถเข้าใช้งานได้บนเว็บไซต์
บริการนี้ สำหรับการปรึกษาแพทย์จากโรงพยาบาลสมิติเวชเท่านั้นใช่หรือไม่
ใช่ โดยเป็นแพทย์ที่ให้บริการจากโรงพยาบาลสมิติเวช สาขา ศรีนครินทร์
หากทำการรักษาอยู่โรงพยาบาลอื่น สามารถเข้ารับบริการนี้ได้หรือไม่
รับบริการได้ส่วนค่าใช้จ่ายหรือสิทธิในการเบิกค่าใช้จ่าย ขึ้นกับประเภทและสัญญากรมธรรม์ของท่าน
การเบิกค่าใช้จ่ายครอบคลุมส่วนใดบ้าง
ครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับบริการพบแพทย์ โดยระยะเวลาในการพบแพทย์ 15 นาที มีค่าใช้จ่าย 500 บาท
ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ลูกค้าสามารถชำระตามจริง หรือใช้สิทธิเบิกจ่ายตามสัญญาในกรมธรรม์ (ถ้ามี)
สัญญาณ Internet ขัดข้อง หรือเว็บไซต์ Samitivej Virtual Hospital ใช้งานไม่ได้
สามารถติดต่อได้ที่ สมิติเวช 02-022-2222 ตลอด 24 ชม. หรือ หากระหว่างสนทนากับพยาบาลหรือแพทย์ผ่าน Samitivej Virtual Hospital แล้วลูกค้ามีปัญหาเรื่องสัญญาณอินเตอร์เน็ต ทางโรงพยาบาลจะโทรกลับ
ทั้งนี้ หากพบปัญหาการใช้งาน ติดต่อได้ที่ Samitivej Virtual Hospital 02-378-9124
ค่าใช้จ่ายกรณีที่ต้องทำการนัดหมายอีกครั้ง
การคิดค่าใช้จ่ายจะเริ่มต้นเมื่อพบแพทย์ และสนทนากับแพทย์จนครบถ้วน หากระหว่างการสนทนา เกิดปัญหาการสนทนายังไม่จบ จะมีเจ้าหน้าที่ของทางโรงพยาบาลติดต่อกลับไปยังลูกค้าและแนะนำให้คนไข้ติดต่อเข้ามาใหม่โดยเป็นการคิดค่าบริการแบบต่อเนื่อง ไม่คิดค่าบริการใหม่
ค่าบริการทางการแพทย์ต้องชำระอย่างไร
ค่าบริการเริ่มต้นที่ 500 ต่อ 15 นาที แต่หากพบอาการที่คนไข้ควรจะพบแพทย์เฉพาะทาง หรือเป็นการรักษาต่อเนื่อง ค่าแพทย์สูงสุดไม่เกิน 1,200 บาท ต่อ 15 นาที กรุณาสอบถามค่าบริการอย่างละเอียดอีกครั้งเมื่อรับบริการกับทางโรงพยาบาล
เอกสารที่ลูกค้าจะได้รับหลังรับคำปรึกษาจากแพทย์
หลังรับคำปรึกษาจากแพทย์ ลูกค้าจะได้รับเอกสารดังนี้
เอกสารชื่อ “Summary Report” ให้กับลูกค้า โดยจะระบุข้อมูลผู้ป่วย, ข้อมูลแพทย์, อาการนำ, การวินิจฉัยเบื้องต้น, คำแนะนำของแพทย์ รวมถึงรายละเอียดของยาที่ได้รับ (กรณีมียา)
ใบเสร็จรับเงินตัวจริง (กรณีคนไข้ชำระเอง) หรือ สำเนาใบแจ้งหนี้ (กรณีใช้สิทธิ์ประกันหรือบริษัทคู่สัญญา)
ช่องทางการชำระเงิน กรณีประกันไม่คุ้มครอง / ส่วนเกินสิทธิ์
ทางโรงพยาบาลจะส่งข้อความผ่านทาง SMS หรืออีเมล์ที่ลูกค้าใช้ลงทะเบียนใช้งาน พร้อมแนบ Payment Link (เว็บไซต์ในการชำระค่าบริการ) ให้กับลูกค้าโดยตรง และเมื่อชำระเสร็จสิ้น จะได้รับใบเสร็จรับเงินตัวจริง โดยมีตราประทับจากโรงพยาบาล ซึ่งจะส่งให้ทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ลูกค้าแจ้งโรงพยาบาลไว้
ความสามารถในการให้บริการ
ในการให้บริการ จะมีเจ้าหน้าที่พยาบาลรอรับสายที่เพียงพอ แต่หากมีผู้ใช้บริการมาก โดยจะมีข้อความแจ้งเตือนในสายเมื่อลูกค้ารอนานเกิน 2 นาที เพื่อให้เลือก รอสาย หรือ ฝากข้อความ หากลูกค้าเลือกรอสาย ระบบจะเตือนทุก ๆ 2 นาที แต่หากลูกค้าเลือกฝากข้อความ สามารถระบุรายละเอียดอาการ เบอร์ติดต่อกลับ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับและรับคำปรึกษา
การจัดส่งยา
กรณีที่มีการจัดส่งยา
ส่งยาในวันเดียวกับที่รับคำปรึกษา ให้บริการผ่าน GRAB ในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดนนทบุรีบางพื้นที่ ตลอด 24 ชั่วโมง
ส่งยาในวันถัดไป ให้บริการตามความสามารถของบริการส่งสินค้าโดย Thai Post และ SCG
หมายเหตุ พื้นที่สีแดง อาจจะใช้เวลามากกว่า 2 วัน (ยะลา ,ปัตตานี , นราธิวาส)
การอธิบายการใช้ยา
หากลูกค้าได้รับยาเรียบร้อยแล้วจะมีการติดต่อจากเภสัชกรภายใน 1 ชั่วโมง แต่หากลูกค้าไม่สะดวก สามารถติดต่อกลับมาที่เบอร์ 02-022-2222 ได้ตลอดเวลาค่ะ โดยมีเจ้าหน้าที่เฉพาะโรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ ที่ดูแลบริการ Telemedicine Samitivej Virtual Hospital วันละ 9 ท่าน
ลูกค้าจะซื้อยาเองได้หรือไม่?
ลูกค้าสามารถสนทนากับแพทย์เพื่อขอทราบรายการยาที่ต้องการไปซื้อเองได้ โดยแพทย์จะระบุยาที่ต้องซื้อเป็นลักษณะชื่อยาทั่วไปแบบ Generic Name รวมถึงปริมาณยา วิธีรับประทาน หรือใช้ ซึ่งจะระบุอยู่ใน Summary Report
แพทย์จะระบุปริมาณยาในการจ่ายยาแต่ละครั้งหรือไม่
แพทย์จะวินิจฉัยตามอาการจากการสนทนาและซักประวัติ โดยไม่จ่ายยาเกิน 7 วัน หากไม่ใช่กรณีการรักษาต่อเนื่อง โดยระหว่าง 7วันนี้ จะมีพยาบาลโทรติดตามอาการป่วยกับคนไข้ หากอาการไม่ดีขึ้นจะแนะนำให้มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลที่ลูกค้าสามารถใช้ใน Summary report เดิม แทนประวัติการรักษาได้
กรณีลูกค้าได้รับยาไม่ครบ ยาชำรุด/เสียหาย
หากเกิดปัญหาเกี่ยวกับยา อาทิ ยาไม่ครบ ยาชำรุดหรือเสียหาย สามารถแจ้งโรงพยาบาลได้โดยตรงที่หมายเลข 02-022-2222 ตลอด 24 ชั่วโมง หากตรวจสอบแล้วพบว่าเกิดปัญหา ทางโรงพยาบาลจะจัดส่งยาชุดใหม่ไปให้ ไม่เกิน 90 นาทีในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดนนทบุรีบางพื้นที่ โดยขั้นตอนการรับยาอยู่ในความรับผิดชอบของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ซึ่งจะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมกับคนไข้กรณีที่พบว่าเกิดปัญหาจากการจัดส่งยา
กรณีลูกค้าแพ้ยา
เมื่อได้รับยาแล้วพบว่ามีอาการแพ้ยา ลูกค้าสามารถติดต่อโรงพยาบาลสมิติเวชที่โทร. 02-022-2222 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อติดต่อแจ้งเรื่องสงสัยแพ้ยา โดยขั้นตอนต่างๆ จะเป็นไปตามหลักการดำเนินการที่ทางโรงพยาบาลกำหนดและรองรับ
ข้อจำกัดในการจ่ายยา
ยาบางประเภทจะไม่สามารถสั่งจ่ายผ่านบริการ Telemedicine ได้ อาทิ
ยาที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท/ยาที่มีความเสี่ยงสูง : กลุ่มยา Sedative drug ยาจิตเวช ,Narcotic drug เช่น มอร์ฟีน
ยาที่แพทย์จำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยจากทางร่างกายโดยตรงก่อน (Physical Examination) จึงจะสั่งยาได้
ยาที่รักษาสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น กลุ่มยาโรคหัวใจ เบาหวาน จิตเวช เป็นต้น
โดยในการรับยาครั้งแรก จะต้องเข้ามาตรวจรับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่หากต้องรับยาอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้บริการ Samitivej Virtual Hospital ในการสั่งยาได้ตามการวินิจฉัยของแพทย์อีกครั้ง
ในการรับบริการ Telemedicine - Samitivej Virtual Hospital
หากมีกรณีดังกล่าวนี้ ขอแนะนำให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยตรงก่อน เพื่อการดูแลได้ทันท่วงนี้ ได้แก่
ความเจ็บป่วยที่ต้องการดูแลรักษาอย่างฉุกเฉิน/อุบัติเหตุ
ความเจ็บป่วยที่ไม่ใช่ non-minor conditions หรือ serious healthcare issues
ความเจ็บป่วยที่มีลักษณะเรื้อรังซึ่งยังไม่เคยได้รับการตรวจวินิจฉัยร่างกายจากแพทย์มาก่อน
ความเจ็บป่วยอื่นใดที่จำเป็นต้องตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
* Simple disease เช่น โรคหวัด โรคคออักเสบ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคท้องร่วง โรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ภูมิแพ้ ผื่นแพ้ ปวดศีรษะ ปวดท้องประจำเดือน เวียนศีรษะ เป็นต้น
บริการนี้สามารถใช้งานเมื่อเดินทางอยู่ต่างประเทศได้หรือไม่
ทั้งนี้ ขึ้นกับสัญญาที่ผู้ถือกรมธรรม์ตามสิทธิ์ได้ซื้อไว้ว่าครอบคลุมการรักษาที่ต่างประเทศ หรือการรักษาตามเงื่อนไขของสัญญาหรือไม่ โดยการรักษาผ่านระบบ Telemedicine-Samitivej Virtual Hospital นั้น ลูกค้าต้องสำรองจ่ายก่อน แล้วนำค่าใช้จ่ายมาเบิกภายหลัง และการพิจารณาจะขึ้นกับข้อกำหนดในสัญญา
กรณีลูกค้าต้องจ่ายส่วนต่างที่เกินสิทธิ์เบิกจ่าย สามารถชำระเงินช่องทางใดได้บ้าง
* Online Banking (ชำระผ่านบัตรเดบิต)
* Credit Card (ชำระผ่านบัตรเครดิต)
โดยทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้ส่งข้อมูลหรือเว็บไซต์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยในการชำระเงินให้ลูกค้าโดยตรง หลังจากที่ได้รับการปรึกษาแล้ว